คณะวิศวกรรมศาสตร์ ช่องทางปั้นแรงงานคนสู่ยุคที่ขับเคลื่อนด้วย AI – IoT

คณะวิศวกรรมศาสตร์

                ในยุคศตวรรษที่ 22 เทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปมาก เพราะทั้ง Internet of Things (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมา ล้วนเข้ามามีบทบาทกับชีวิตมนุษย์มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าประโยชน์ของมันคือช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ทั้งในแง่ของการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงาน แต่ขณะเดียวกันการพัฒนาแบบก้าวกระโดดนี้ก็ได้เข้ามาแทรกแซงการมีอยู่ของแรงงานคนในแวดวงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ด้วย

นั่นแปลว่าแรงงานคนในบางตำแหน่งงานจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือบางตำแหน่งงานจะต้องทำงานร่วมกับเทคโนโลยีให้ได้ เพื่อความอยู่รอด

                ซึ่งหนทางที่จะทำให้คนรุ่นใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานสามารถรับมือกับเรื่องราวเหล่านี้ได้ คือการปูพื้นฐานด้วยองค์ความรู้จากคณะวิศวกรรมศาสตร์

ความสำคัญของ AI และ IoT

            ทั้ง AI และ IoT เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับสิ่งมีชีวิต รวมทั้งสร้างประโยชน์มากมายให้กับภาคอุตสาหกรรม เช่น AI ที่ใช้ตรวจจับข้อบกพร่องของสินค้าต่าง ๆ ได้แม่นยำกว่าแรงงานคน การเชื่อมโยงการทำงานของแรงงานคนเข้ากับการทำงานของระบบการวิเคราะห์ขั้นสูงในเครื่องจักรของโครงข่าย IoT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และย่นระยะเวลาในการทำงาน เป็นต้น การมีองค์ความรู้ที่สามารถทำงานร่วมกับ AI และ IoT จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่กำลังก้าวสู่โลกอุตสาหกรรม

คณะวิศวกรรมศาสตร์เกี่ยวข้องกับ AI – IoT อย่างไร

            วิศวกรรมศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์ ในการออกแบบและพัฒนาโครงสร้าง เครื่องจักร เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของสิ่งมีชีวิตอย่างปลอดภัย ซึ่ง AI – IoT เป็นผลผลิตส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากองค์ความรู้ของผู้ที่เรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์นั่นเอง

คณะวิศวกรรมศาสตร์กับการเจาะลึกเรื่อง  AI – IoT

                เมื่อ AI – IoT มีบทบาทกับโลกเรามากขึ้น จากเดิมที่คณะวิศวกรรมศาสตร์สอนเรื่องนี้แบบกว้าง ๆ ก็ได้ขยับขยายมาเปิดสาขาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างเฉพาะทางมากขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เปิดสอนวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ โดยแบ่งเป็น 2 วิชาเอก คือ

  1. วิศวกรรมวิทยาการข้อมูลและการบริหารงานระบบ (Data Science and Systems Management Engineering)

                มีเนื้อหาการเรียนที่น่าสนใจ คือ ปัญญาประดิษฐ์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์และการวิเคราะห์ออกแบบระบบ การออกแบบระบบการจัดการฐานข้อมูล การทดสอบและประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ข้อมูล ระบบข้อมูลแบบไม่เชิงสัมพันธ์ (NoSQL) และโปรแกรมสถิติ และการบริหารข้อมูลอย่างชาญฉลาด

  • วิศวกรรมสมองกลฝังตัวอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและระบบเครือข่าย (Embedded IoT and Network Engineering)

                ซึ่งเน้นเรียนเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ ทักษะวิศวกรรมซอฟต์แวร์และการวิเคราะห์ออกแบบระบบ การออกแบบระบบการจัดการฐานข้อมูล Internet of Things แพลตฟอร์มการคำนวณสำหรับสมองกลฝังตัวและไอโอที การออกแบบระบบเฝ้าระวังเครือข่ายและการเจาะระบบเครือข่าย รวมถึงการเรียนรู้ของเครื่องยนต์ (Machine learning) และทักษะทางด้านวิศวกรรมอื่น ๆ

เรียนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ทำอาชีพอะไรได้บ้าง

            ผู้ที่เรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ ไม่ว่าจะเป็นวิชาเอกใด ก็สามารถประกอบอาชีพได้เหมือนกัน เช่น นักพัฒนาระบบ AI ผู้ดูแลและออกแบบระบบโครงข่าย IoT วิศวกรวิเคราะห์ ออกแบบระบบงานและฐานข้อมูล นักเขียนและพัฒนาโปรแกรม ผู้เชี่ยวชาญระบบข้อมูลขนาดใหญ่และ IoT นักวิเคราะห์ระบบความมั่นคงทางไซเบอร์ เป็นต้น

บทส่งท้าย

            คณะวิศวกรรมศาสตร์ นับว่าเป็นช่องทางสำคัญในการปั้นแรงงานคนรุ่นใหม่ให้พร้อมก้าวสู่การทำงานในยุคที่ขับเคลื่อนด้วย AI – IoT ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ไม่อยากเป็นคนไร้งาน ก็ไม่สายที่จะหันมาสนใจการเรียนในคณะนี้

ศึกษารายละเอียดหลักสูตรคณะวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ วิชาเอกวิศวกรรมวิทยาการข้อมูลและการบริหารงานระบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร คลิก https://mut.ac.th/eng_computer-and-artificial-intelligence-ai-engineering/

ศึกษารายละเอียดหลักสูตรคณะวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ วิชาเอกวิศวกรรมสมองกลฝังตัวอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและระบบเครือข่าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร คลิก https://mut.ac.th/eng_embedded-iot-and-network-engineering/